ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ออก ๓ '

    ออก ๓  หมายถึง ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออกแดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก; ทําให้ปรากฏ เช่น ออกภาพทางโทรทัศน์; ทําให้เกิดขึ้นมีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย; พ้นภาวะ เช่นออกจากงาน; แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก;ผุดขึ้น เช่น ออกหัด; จ่าย เช่น ออกเงิน; แสดง เช่น ออกท่า; นำ เช่นออกหน้า; เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่นออกเพลงเรือ ออกลูกหมด; เป็นกริยาช่วยหมายความว่า รู้สึกว่า เช่นใจออกจะโกรธ ออกฉุน. ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก; ขยาย,แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก; หลุดไปได้, สําเร็จไปได้,เช่น ร้องออก ถอนออก; ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก;คําประกอบหลังคําอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดําออกอย่างนี้.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • ออกกำลัง

    ก. ใช้กําลัง; บริหารร่างกายเพื่อให้แข็งแรง.

  • ออกขุนนาง

    ก. เสด็จออกว่าราชการแผ่นดิน (ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์).

  • ออกแขก

    ก. ต้อนรับแขก; แสดงต่อหน้าแขก, แสดงตัวในสังคม; อาการที่ลิเกตัวแขกออกมาบอกเรื่องที่จะแสดง. น. การแสดงลิเกตอนที่มีตัวแขกออกมาบอกเรื่องที่จะแสดง.

  • ออกโขน

    ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่างเล่นโขน, ทำท่าและออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคํา ออกยักษ์เป็น ออกยักษ์ ออกโขน.

  • ออกไข้หัว

    (โบ) ก. อาการที่ไข้หัวผุดขึ้นมา, เป็นไข้หัว.

  • ออกงาน

    ก. ไปปรากฏตัวในงานสังคม; (โบ) แสดงแก่ประชาชนหรือสังคมครั้งแรก (ใช้แก่วงมหรสพ โขน ละคร สตรีสาว).

  • ออกงิ้ว

    ก. แสดงอาการโกรธโดยทําท่าทางและส่งเสียงเอะอะตึงตังอย่างเล่นงิ้ว.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒